ดูบทความ
ดูบทความฮีตเตอร์มีกี่ประเภท กี่ชนิด
ฮีตเตอร์มีกี่ประเภท กี่ชนิด
1. ฮีตเตอร์ต้มน้ำยาเคมี
ใช้สำหรับอุ่นหรือต้มของเหลวได้เกือบทุกประเภทที่ไม่ทำปฏิกิยากับสแตนเลส 316 (SUS 316) เช่นน้ำ หรือ น้ำมัน และยังใช้อุ่น หรือ ต้ม ของเหลวที่เหนียวข้นได้หลากหลาย การติดตั้งสามารถทำได้โดยเชื่อมเกลียวตัวเมียติดกับถัง
แล้วใส่ฮีตเตอร์แบบเกลียวเข้าไปโดยตัวฮีตเตอร์ขนานกับพื้นถังควรระวังไม่ ให้ส่วนของฮีตเตอร์โผล่พ้นของเหลวเนื่องจากจะทำให้ส่วนที่อยู่เหนือของเหลว ร้อนจัดเกินไปทำให้อายุการใช้งานสั้น และเพื่อให้ความร้อนกระจายทั่วถึงควรติดตั้งใบพัดกวนของเหลวควบคู่กันด้วย
รูป ฮีตเตอร์ต้มน้ำยาเคมี
2. ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ (Hot runner Heater)
คือฮีตเตอร์ที่ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับท่อหัวฉีด ที่ติดกับแม่พิมพ์ เพื่อถ่ายเทความร้อนได้อย่างสม่ำเสมอและทั่วแท่งฮีตเตอร์ ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์เหมาะสมกับงานอุตสาหกรรมพลาสติก, เครื่องฉีดพลาสติก และฝาพลาสติก สามารถกำหนดขนาดตามความต้องการได้
รูป ฮีตเตอร์ฮอตรันเนอร์ (Hot runner Heater)
ฮีตเตอร์ขดลวด (Hot runner Heater) ผลิตจากขดลวดฮีตเตอร์คุณภาพสูงมีอายุการใช้งานยืนยาว ปราศจากสนิมเพราะตัวขดลวดด้านนอกทำจากสแตนเลสเกรด 304 แท้ อีกทั้งทางเรามีการทดลองก่อนนำส่งให้ลูกค้าจึงมั่นใจได้ว่าฮีตเตอร์ขดลวดของ เราจะมีคุณภาพและให้ความร้อนได้สูงตามสเปกที่ท่านต้องการ ฮีตเตอร์ขดลวดเหมาะสำหรับใช้ในการให้ความร้อนของเหลวต่างๆหรือ ให้ความร้อนกับเตาไฟฟ้าต่างๆก็ได้ซึ้งท่านสามารถเลือกได้ว่าจะให้ทางเราดัด เป็นรูปแบบต่างๆเพื่อความเหมาะสมในแต่ละงาน ทั้งนี้เรายังสามารถผลิตและออกแบบให้ท่านได้ตามต้องการ เช่นกำลังวัตต์ไฟฟ้า แรงดันที่ใช้ หรือ ขนาดของขดลวดก็มีให้เลือกหลายขนาด เพื่อตอบสนองความต้องการการใช้งานฮีตเตอร์ขดลวดได้อย่างมีประสิทธิภาพและ เต็มกำลังการใช้งาน เป็นฮีตเตอร์ที่มีขนาดเล็กแต่สามารถทำความร้อนได้สูงเหมาะใช้กับเครื่องฉีด สามารถให้อุณหภูมิในการใช้งาน ได้ถึง 1,400 ° F (760 ° C) ขึ้นอยู่กับการออกแบบด้วย
3. เซรามิคฮีตเตอร์ (Ceramic Band Heater)
รูป เซรามิคฮีตเตอร์ (Ceramic Band Heater)
คือฮีตเตอร์ที่ให้ความร้อนได้สูง และต่อเนื่องเหมาะสำหรับเครื่องฉีดพลาสติก ที่ต้องการใช้อุณภูมิสูง และใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ โครงสร้างทำจากเซรามิค อายุการใช้งานนาน ปลอดภัย สามารถกำหนดขนาดได้ตามความต้องการ และสามารถให้อุณภูมิระดับปานกลางจนถึงสูง เนื่องจากเซรามิคเป็นตัวนำความร้อนและยังเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีอีกด้วย ฮีทเตอร์เซรามิคสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งกลม และ แบบแผ่น ซึ่งเหมาะกับงานประเภทอุตสาหกรรมพลาสติก งานแม่พิมพ์ และ อุตสาหกรรมผลิตยางทุกชนิด เซรามิคยังให้ความร้อนต่อเนื่องได้เป็นเวลานาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและปลอดภัย และยังสามารถใช้ให้ความร้อนกับของเหลวที่อยู่ในท่อ ใช้ให้ความร้อนกับท่อ หรือถังรูปทรงกระบอกโดยรัดจากภายนอก เช่น งานฉีดพลาสติก หรือต้มน้ำ เลือกการต่อไฟได้ทั้งออกสาย ขั้วน๊อต และปลั๊ก
4. ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge heater)
คือฮีตเตอร์ที่ใช้ในการอุ่น และให้ความร้อนให้แก่แม่พิมพ์, ชิ้นงานเหล็ก, หัวพ่นกาว, เครื่องพิมพ์ทอง, เครื่องรีดถุงพลาสติก นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใส่เกลียว เพื่อต้มน้ำเคมีกาวในท่อ หรือถาดได้ฮีทเตอร์แท่งแบ่งเป็น 2 ชนิด
-
ฮีทเตอร์แท่งแบบ Hi-Density มักใช้กับงานที่ไม่ร้อนเกิน 350°C
-
ฮีทเตอร์แท่งแบบ Low-Density ใช้กับงานที่ไม่ควรร้อนเกิน 150°C อนึ่งฮีทเตอร์ Hi-Density ดีกว่า ใช้งานได้นานกว่า ราคาแพงกว่าแต่ไม่มากจึงมีผู้นิยมใช้มากกว่า
รูป ฮีตเตอร์แท่ง (Cartridge Heater)
5. ฮีตเตอร์จุ่ม-ฮีตเตอร์ต้มน้ำ (Immersion Heater)
คือฮีตเตอร์ที่ใช้ให้ความร้อนกับของเหลว เช่น ต้มน้ำ หรือ อุ่นน้ำมันของเหลวต่างๆ ได้เกือบทุกประเภทที่ไม่ทำปฏิกิริยากับสแตนเลส ซึ่งเหมาะสำหรับทุกงานอุตสาหกรรมที่มีการอุ่น หรือต้มของเหลวหลายชนิด และยังอุ่นหรือต้มของเหลวที่เหนียวข้น เช่น อุ่นกาวยางมะตอย การติดตั้งสามารถทำได้โดยเชื่อมเกลียวตัวเมียติดกับถังแล้วใส่ฮีทเตอร์แบบ เกลียวเข้าไป โดยตัวฮีทเตอร์ขนานกับพื้นถัง ควรระวังไม่ให้ส่วนของฮีทเตอร์โผล่พ้นระดับของเหลวเนื่องจากจะทำให้ส่วนที่ อยู่เหนือของเหลวร้อนจัดเกินไปเพราะไม่ได้ระบายความร้อนให้กับของเหลวจึงทำ ให้อายุการใช้งานสั้นลง
รูป ฮีตเตอร์จุ่ม ฮีตเตอร์ต้มน้ำเกลียวประปา (Immersion Heater)
6. ฮีตเตอร์อินฟาเรด (Infrared Heater)
คือฮีตเตอร์ที่ใช้ส่งผ่านความร้อนแบบแผ่รังสี จึงมีประสิทธิ์ภาพสูง ความสูญเสียต่ำ ประหยัดไฟ สามารถให้ความร้อนวัตถุได้ถึงเนื้อในจึงทำให้ประหยัดเวลาได้ และยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในงานอบแห้งต่างๆ เช่น อบสี, แลคเกอร์, กาว, เมล็ดพันธ์พืช, อีพ๊อกซี่ ใช้กับงานอุตสาหกรรมพลาสติก อบพลาสติกให้อ่อนตัวก่อนนำไปเข้าเครื่องเป่า มีลักษณะเป็นท่อกลมเส้นตรงมีทั้งสีดำ (เซรามิก) สีขาว (แก้วควอต)
- ใช้สำหรับงานอบแห้ง, ไล่ความชื้น, อบสกรีน, อบอาหารหรืองานบรรจุสินค้าโดยใช้ซองพลาสติกฟีล์มหดโดยใช้ในเครื่องอบฟีล์มหด
- ใช้ในงานอบแห้งต่างๆ เช่น สี, แลคเกอร์, กาว, เมล็ดพันธ์พืช,อีพอกซี่
- ใช้กับงานอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ขนมปัง, เบเกอรี่
- การให้ความร้อนของฮีทเตอร์อินฟาเรด สิ่งที่สำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ ตัววัตถุจะต้องมีคุณสมบัติในการดูดซับรังสีได้ดี ดังนั้น วัตถุบางชนิดที่มีผิวมันวาว หรือมีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงได้ดีจะไม่เหมาะกับการให้ความร้อนด้วยวิธีนี้
รูป ฮีตเตอร์อินฟาเรด (Infrared Heater)
7. ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater)
คือฮีตเตอร์ที่มีโครงสร้างแบบเดียวกันกับฮีตเตอร์รัดท่อแต่รูปทรงจะเป็น รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า เหมาะสำหรับให้ความร้อนกับแม่พิมพ์ สามารถระบุชนิดวัสดุที่ต้องการได้ รวมทั้งความยาว, แรงดัน, กำลังวัตต์ ใช้ให้ความร้อนกับวัตถุผิวเรียบ โดยใช้วิธียึดติดให้แน่นโดยการใช้น๊อตหรือการรัด วัสดุที่นำมาทำสามารถเลือกได้ทั้ง สแตนเลส และ ซิ้งค์ การต่อไฟได้ทั้งออกสาย, ขั้วน๊อต, เต๋า และออกปลั๊ก
ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater) เป็นอุปกรณ์ให้ความร้อนกับงานทั่วไป ซึ่งเหมาะสำหรับงานที่ต้องการให้ความร้อนกับงานทั่วไป เช่น เครื่องบรรจุหีบห่อมีดตัดพลาสติก เตาอบแบบต่างๆ ที่ต้องการให้ความร้อนอย่างสม่ำเสมอกับชิ้นงาน และให้ความร้อนในงานอุตสาหกรรมต่างๆ ใช้ให้ความร้อนกับแผ่นแม่พิมพ์ ลักษณะงานเหมือนฮีทเตอร์แท่ง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมหรือวงกลม สามารถเจาะรูได้
รูป ฮีตเตอร์แผ่น (Strip Heater)
8. ฮีตเตอร์ท่อกลม ฮีตเตอร์ทิวบูลาร์ (Tubular Heater)
คือฮีตเตอร์ที่ใช้ให้ความร้อนได้กับอากาศ และของเหลว และใช้ให้ความร้อนกับน้ำ เช่น งานอุ่น หรืองานต้ม และยังใช้สำหรับงานที่ต้องการให้ความร้อนในการอบ เช่น อบสี, อบชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์, อบไล่ความชื้น, อบใยผ้า, อบแม่พิมพ์, อบพลาสติก, อบอาหาร เป็นต้น มีวัสดุให้เลือกตามความเหมาะของงาน
ฮีทเตอร์ท่อกลมผลิตให้มีความยาวได้ตั้งแต่ 20 ซม. จนถึง 6 เมตร และสามารถนำไปดัดแปลงเป็นฮีทเตอร์อื่นๆ อีกมากมายหลายชนิด เช่น
- เส้นตรง ( Straight Line )
- ดัดตัวยู ( U- shaped )
- ดัดตัวเอ็ม ( M- shaped )
- ตัวยูหัวเกลียว ( Tubular With Thread )
- ฮีทเตอร์ครีบ
- ฮีทเตอร์อุ่น – ต้มน้ำยาเคมี
- ฮีทเตอร์อุ่น – ต้มน้ำ
- ละลายน้ำแข็ง ( Defrost )
- หัวเกลียวประปา( Immersion with Thread)